ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26
เมืองเจ้าภาพ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ |
---|---|
ทีมเข้าร่วม | 9 มหาวิทยาลัย |
กีฬา | 17 |
พิธีเปิด | 30 มกราคม 2553 |
พิธีปิด | 6 กุมภาพันธ์ 2553 |
ประธานพิธีเปิด | หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม |
นักกีฬาปฏิญาณ | จาตุรนต์ ธนสมบูรณ์ |
ผู้ตัดสินปฏิญาณ | สุรเด่น ลือชา ภาวินี สายบัว |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬา มทร.รัตนโกสินทร์ |
กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 (รัตนโกสินทร์เกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐม
พิธีเปิดการแข่งขัน
[แก้]การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 "รัตนโกสินทร์เกมส์" มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐม โดยได้รับเกียรติจาก หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธาน
ในพิธีเปิดมี ผศ.จาตุรนต์ ธนสมบูรณ์ อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิส เป็นนักกีฬาอาวุโส กล่าวนำปฏิญาณ สำหรับการจุดคบเพลิง มีนายสุรเด่น ชื่อลือชา นักกีฬากรีฑา เป็นผู้วิ่งถือคบเพลิงเข้าสู่สนาม และนางสาวภาวินี ลายบัว นักกีฬาหมากล้อม เป็นผู้วิ่งถือคบเพลิงไปยังกระถางจำลอง จากนั้นใช้ลูกหนูยิงไปยังกระถางคบเพลิงบนอัฒจันทร์ ไฟสัญลักษณ์แห่งการแข่งขันจึงลุกโชติช่วงขึ้น พร้อมกับพลุที่ถูกจุดขึ้นอย่างสว่างไสว[1]
และจากนั้นตามด้วยการแสดงในชุดแรกมีชื่อว่า "องค์อินทราอำนวยชัย" การแสดงชุดที่ 2 ในชื่อชุด "ศิลปะไทยในสยาม" เป็นการแสดงศิลปะของแต่ละภาค เพื่อเป็นต้อนรับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่เดินทางมาจากทุกภาคทั่วประเทศ และการแสดงชุดสุดท้าย มีชื่อว่า "ดอกบัวสวรรค์งามมิ่งขวัญราชมงคล" ซึ่งดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นการแสดงถึงพลังสามัคคีของชาวราชมงคลทั้ง 9 แห่ง
สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน
[แก้]การแข่งขันกีฬาราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26 (รัตนโกสินทร์เกมส์) มีสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันเป็นรูปช้างและเปลวไฟ
เปลวไฟ คือ ไฟจากคบเพลิงการแข่งขันกีฬา เมื่อรวมกับงวงช้าง จะมีรูปทรงเป็นอักษร "ร" หมายถึง รัตนโกสินทร์
ช้าง คือ สัตว์มงคลประจำมหาวิทยาลัย และใช้สีแดง ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
R สื่อถึงชื่อของมหาวิทยาลัย (Rattanakosin)
แถบสีเหลือง แดง เขียว น้ำเงิน สื่อถึงสีสัญลักษณ์กีฬาสากล และเป็นสีประจำพื้นที่ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ศาลายา บพิตพิมุขจักรวรรดิ วังไกลกังวล และเพาะช่าง
สัตว์นำโชคประจำการแข่งขัน คือ พลายรัตนะ
สรุปเหรียญการแข่งขัน
[แก้]อันดับ | มทร. | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | อีสาน | 14 | 19 | 19 | 52 |
2 | ธัญบุรี | 13 | 10 | 13 | 36 |
3 | ล้านนา | 12 | 16 | 29 | 57 |
4 | ศรีวิชัย | 11 | 8 | 12 | 31 |
5 | สุวรรณภูมิ | 9 | 4 | 11 | 24 |
6 | กรุงเทพ | 7 | 10 | 10 | 27 |
7 | พระนคร | 7 | 7 | 11 | 25 |
8 | รัตนโกสินทร์ | 6 | 5 | 2 | 13 |
9 | ตะวันออก | 5 | 5 | 6 | 16 |
รวม | 84 | 84 | 113 | 283 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุรเด่น-ภาวินีจุดคบเพลิงรัตนโกสินทร์เกมส์
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2010-02-02.
ดูเพิ่ม
[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัตนโกสินทร์เกมส์ เก็บถาวร 2010-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25 (มทร.ล้านนา) |
ไฟล์:Rmutlogo.jpg กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย (30 ม.ค. - 6 ก.พ. พ.ศ. 2553) |
ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 27 (มทร.ตะวันออก) |